welcome

(: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก ภาษาไทยเรื่องมหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก :)

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

เรื่องย่อ

เรื่องย่อ
 กัณฑ์ที่ ๑  ทศพร มี ๑๙  พระคาถา
               กล่าวถึงปฐมเหตุที่พระพุทธทรงเทศนาเล่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดกแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ  นิโครธารามมหาวิหาร  โดยเริ่มเรื่องจากการกำเนิดพระนางผุสดีผู้ถวายแก่จันทร์บดแด่พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  และตั้งจิตปรารถนาว่า  ขอให้ได้เป็นพระพุทธมารดาในอนาคต  เมื่อได้บังเกิดในสวรรค์ได้เป็นมเหสีของพระอินทร์  ในกัณฑ์ที่กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์พระอินทร์จึงประทานพร  ๑๐  ประการให้พระนางผุสดี  ได้แก่  ๑.  ขอให้เกิดในกรุงมัทราช  แคว้นสีพี๒.  ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย  ๓.  ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง 
๔.  ขอให้ได้นาม ผุสดี  ดังภาพเดิม  ๕.  ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป         ๖.  ขอให้พระครรภ์งาม  ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ  ๗.  ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง  ๘.  ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ  ๙.  ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ  ๑๐.  ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้

กัณฑ์ที่    หิมพานต์  มี  ๑๓๔  พระคาถา
           กล่าวถึงพระนางผุสดีซึ่งจุติจากสวรรค์ลงมาประสูติเป็นพระธิดากษัตริย์มัทราช  และได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี  พระนางผุสดีได้ประสูติพระเวสสันดรในขณะประพาสชมพระนคร  และขณะนั้นนางช้างฉันทันต์ก็ได้นำลูกช้างเผือกมาไว้ในโรงช้างต้น ต่อมาลูกช้างเผือกตัวนั้นได้ชื่อว่า  ปัจจัยนาเคนท์  มีคุณวิเศษ  คือ  ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  พระเวสสันดรใฝ่ใจในการบริจาคทาน  เมื่อได้เสวยราชสมบัติและอภิเษกกับพระนางมัทรีแล้ว  ได้ตั้งโรงทานถึง    แห่ง  และพระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ให้กับชาวเมืองกลิงคราษฎร์  ซึ่งเป็นเมืองที่แห้งแล้ง  ข้างยากหมากแพงมาหลายปี  ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดรพระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง
 กัณฑ์ที่    ทานกัณฑ์  มี  ๒๐๙  พระคาถา
          เมื่อพระนางผุสดีทรงทราบว่าพระเวสสันดรถูกเนรเทศ  พระนางได้ทูลขอโทษ  แต่พระเจ้ากรุงสญชัยมิได้ตรัสตอบ  พระนางจึงเสด็จไปที่พระตำหนักพระเวสสันดรและทรงรำพันต่างๆนานา
           รุ่งขึ้นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญสัตตสดกมหาทาน  แล้วจึงพาพระนางมัทรีและสองกุมารเข้าไปทูลลาพระเจ้ากรุงสญชัย  พระเจ้ากรุงสญชัยทรงห้ามพระนางมัทรีมิให้ติดตามไปด้วย  เพราะจะได้รับความลำบากในป่า  แต่พระนางมัทรีก็ทูลถึงเหตุผลอันเหมาะสมที่พระนางจะต้องตามเสด็จพระเวสสันดรในครั้งนี้  พระเจ้ากรุงสญชัยจึงขอสองกุมารให้อยู่กับพระองค์  แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม  จากนั้นทั้งสี่พระองค์ก็ได้เสด็จไปทูลลาพระนางผุสดี  รุ่งขึ้นพระเวสสันดรให้พนักงานเบิกแก้วแหวนเงินทองบรรทุกรถเสด็จออกจากเมือง  ทรงโปรยแก้วแหวนเงินทองเหล่านั้นเป็นทานแก่ยาจกโดยทั่วหน้า  แล้วจึงตรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์กลับคืนมายังเมือง  พระองค์ก็ทรงบริจาคให้จนหมดสิ้น  พระเวสสันดรจึงอุ้มพระชาลีและพระนางมัทรีอุ้มพระกัณหาเสด็จพระดำเนินต่อไปด้วยพระบาท
กัณฑ์ที่    วนประเวสน์  มี  ๕๗  พระคาถา
           กล่าวถึงการเดินทางของพระเวสสันดรไปยังเขาวงกต   ซึ่งมีพระนางมัทรีและชาลีกัณหาอันเป็นพระโอรสและพระธิดาตามเสด็จด้วย  ได้พบกับเจ้าเมืองเจตราษฎร์  เจ้าเมืองเจตราษฎร์มอบให้พรานเจตบุตรเป็นผู้ดูแลมิให้ใครเดินทางไปรบกวนพระเวสสันดรที่เขาวงกต
 กัณฑ์ที่    ชูชก  มี  ๗๙  พระคาถา
            กล่าวถึงพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่า  ชูชก  เป็นคนเข็ญใจไร้ญาติเที่ยวเร่ร่อนขอทาน  จนกระทั่งถึงแก่ชราจึงรวบรวมเงินได้ถึงร้อยกษาปณ์  เห็นว่าถ้าเก็บไว้กับตัวก็จะเป็นอันตราย  จึงนำไปฝากกับเพื่อนคนหนึ่งแล้วก็เที่ยวขอทานไป  เวลาล่วงเลยมาหลายปี  เพื่อนผู้รับฝากเงินไว้เห็นว่าชูชกไม่กลับมาคงจะล้มตายไปแล้ว  จึงได้นำเงินที่ชูชกฝากไว้ไปจับจ่ายจนหมดสิ้น  เมื่อชูชกกลับมาเพื่อนคนนั้นไม่มีเงินให้จึงต้องยกลูกสาวชื่อนางอมิตตดาให้เป็นภรรยาชูชก  นางอมิตตดาปรนนิบัติสามีตามหน้าที่ของภรรยาที่ดีทุกอย่าง  จนทำให้พราหมณ์อื่นๆ  ในหมู่บ้านนั้นตบตีดุด่าภรรยาของตนให้ประพฤติตามอย่างนางอมิตตดา  บรรดาภรรยาทั้งหลายต่างก็โกรธเคืองหาว่านางอมิตตดาเป็นต้นเหตุ  จึงพากันไปเยาะเย้ยถากถางนางอมิตตดาขณะที่นางลงไปตักน้ำที่ท่าน้ำทำให้นางอมิตตดารู้สึกอับอาย  จึงกลับมาบอกกับชูชกว่าต่อไปนี้นางจะไม่ทำงานอะไรอีก  ชูชกจะต้องไปหาข้าทาสมาให้นาง  มิฉะนั้นนางจะไม่อยู่ด้วย  เทพเจ้าได้เข้าดลใจนางให้แนะชูชกไปขอพระกัณหาชาลีมาเป็นทาส  ชูชกจำใจต้องไป  ก่อนออกเดินทางชูชกก็จัดการซ่อมแซมบ้านให้แข็งแรง  และให้โอวาทนางอมิตตดา  ส่วนนางก็จัดเสบียงที่จะเดินทางไว้พร้อม  ชูชกแปลงเพศเป็นชีปะขาว  แล้วก็ออกเดินทาง  พบบุคคลที่ไหนก็สอบถามเรื่องพระเวสสันดรเรื่อยไป  พวกชาวเมืองโกรธคิดว่าชูชกจะต้องไปขออะไรจากพระเวสสันดรอีก  จึงช่วยกันทำร้ายชูชกจนต้องหนีกระเจิดกระเจิงเข้าป่าไป  เทวดาดลใจให้ชูชกเดินไปพบกับพรานเจตบุตรว่าบัดนี้ประชาชนเมืองสีพีหายโกรธเคืองพระเวสสันดรแล้ว  พระเจ้ากรุงสญชัยใช้ให้เป็นทูตถือพระราชสาส์นไปเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับพระนคร  พรานเจตบุตรหลงเชื่อจึงบอกเส้นทางที่จะไปสู่เขาวงกตแก่ชูชก
กัณฑ์ที่    จุลพน  มี  ๓๕  พระคาถา
          พรานเจตบุตรหลงกลชูชก  ที่ได้ชูกลักพริกขิงให้พรานดู  อ้างว่าเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร  พรานเจตบุตรจึงต้อนรับและเลี้ยงดูชูชกเป็นอย่างดีและได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤาษ
กัณฑ์ที่    มหาพน  มี  ๘๐  พระคาถา
           ชูชกเดินทางไปถึงอาศรมของพระอัจจุตฤาษี  แล้วหลอกลวงพระฤาษีว่า  ตนเคยคบหาสมาคมกับพระเวสสันดรมาก่อน  เมื่อพระองค์จากมานานจึงใคร่จะเยี่ยมเยียน  พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ชูชกพักแรมที่อาศรมหนึ่งคืน  รุ่งขึ้นก็อธิบายหนทางที่จะเดินทางว่า  จะต้องผ่านภูเขาคันธมาทน์และสระมุจลินท์ซึ่งอยู่ใกล้ๆ  กับพระอาศรมของพระเวสสันดร  ชูชกจึงลาพระฤาษีเดินทางต่อไป
 กัณฑ์ที่    กุมาร  มี  ๑๐๑  พระคาถา
            ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร  พระเวสสันดรพระราชทานให้  สองกุมารรู้จึงหนีไปอยู่ในสระบัว  พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ  สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว  ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดยเร่งรีบด้วยเกรงว่า  หากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ
กัณฑ์ที่    มัทรี  มี  ๙๐  พระคาถา
           เมื่อชูชกพาสองกุมารออกไปพ้นพระอาศรมแล้ว  เทพทั้งปวงก็วิตกว่า  ถ้าพระนางมัทรีกลับมาแต่ยังวันก็จะต้องรีบติดตามหาสองกุมารเป็นแน่  พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้เทพสามองค์  จำแลงเป็นเสือและราชสีห์ไปขวางทางเดินของพระนางมัทรีไว้  ส่วนพระนางมัทรีรู้สึกเป็นทุกข์ถึงสองกุมารเป็นอันมาก  เก็บผลไม้ตามแต่จะได้แล้วก็รีบกลับพระอาศรม  มาพบสัตว์ทั้งสามขวางหน้าอยู่ก็วิงวอนขอทาง  จนพลบค่ำสัตว์ทั้งสามจึงหลีกทางให้  เมื่อมาถึงพระอาศรม  พระนางมองหาสองกุมาร  แต่ไม่พบ  จึงไปถามพระเวสสันดร  พระเวสสันดรเกรงว่า  ถ้าบอกไป  พระนางมัทรีจะโศกเศร้ามากยิ่งขึ้นไปอีก  จึงแสร้งพูดแสดงความหึงหวงขึ้นเป็นทำนองระแวงที่นางกลับมาจนมืดน้ำ  พระนางมัทรีเจ็บใจก็คลายความโศกเศร้าลง  เที่ยวตามหาสองกุมารไปทุกหนทุกแห่ง  แต่ไม่พบจึงกลับมายังพระอาศรมของพระเวสสันดร  แล้วสลบไปด้วยความโศกเศร้าและสิ้นแรง  เมื่อพระเวสสันดรแก้ไขจนพระนางมัทรีฟื้น  พระเวสสันดรจึงเล่าให้ฟังว่าได้บริจาคบุตรเป็นทานแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว  พระนางมัทรีก็มิได้โศกเศร้า  แต่กลับชื่นชมกับมหาบริจาคทานของพระเวสสันดรด้วยศรัทธาอันเปี่ยมล้น
กัณฑ์ที่  ๑๐  สักกบรรพ  มี  ๔๓  พระคาถา
           พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร  ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก  ด้วยไม่มีผู้คอยปรนนิบัติ  ดังนั้นพระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร  รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย
 กัณฑ์ที่  ๑๑  มหาราช  มี  ๖๙  พระคาถา
            เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่  ชูชกผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตัวเองปืนขึ้นไปนอนบนต้นไม้  เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมารให้เดินทางถึงกรุงสีพีโดยปลอดภัย  ขณะเดียวกันพระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝัน  ซึ่งตามคำทำนายนั้นนำมายังความปีติปราโมทย์แก่พระองค์ยิ่งนัก
            เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้า  พระเจ้ากรุงสีพีก็ทอดพระเนตรเห็นชูชกและกุมารทั้งสองพระองค์  ครั้นทรงทราบความจริง  พระองค์จึงพระราชทานไถ่คืน  หลังจากนั้นชูชกก็ถึงแก่ความตายเพราะกินอาหารมากเกินขนาด  แล้วพระชาลีก็ทูลพระเจ้ากรุงสีพีเพื่อขอให้ไปรับพระบิดาและพระมารดาให้นิวัติคืนพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงราษฎร์ได้คืนช้างปัจจัยนาเตนทร์แก่นครสีพี


กัณฑ์ที่  ๑๒  ฉกษัตริย์  มี  ๓๖  พระคาถา
         พระเจ้ากรุงสญชัยยกทัพไปรับพระเวสสันดร  โดยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน  จึง     เดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้งสี่เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมตีนครสีพีจึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  และเมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกัน  ทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  พระอินทร์จึงทรงได้บันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมหกกษัตริย์ให้หายโศกเศร้าและฟื้นพระองค์
 กัณฑ์ที่  ๑๓  นครกัณฑ์  มี  ๔๘  พระคาถา
            กษัตริย์ทั้งหกยกพลกลับคืนพระนคร  หลังจากที่พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  เมื่อเสด็จถึงนครสีพีจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดให้แก่ประชาชน  ท้าวโกสีย์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว    ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ